วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

มาตรฐานวิชาชีพครูและสภาวิชาชีพครู




มาตรฐานวิชาชีพครู
ความหมายของมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา
           มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษ
  คือ  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพ ที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา    ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม  เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ  สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่าเป็นบริการที่มีคุณภาพ  ตอบสังคมได้ว่าการที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา    และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม  นั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้   ทักษะ  และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพ     ตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา  .. 2546  มาตรา  49
กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพ 3 ด้าน ประกอบด้วย
          1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  หมายถึง  ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่จะ เข้ามาประกอบวิชาชีพ  จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ  จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถ  และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
          2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ ให้เกิดผลเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด  พร้อมกับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้เกิดความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ    ทั้งความชำนาญเฉพาะด้านและความชำนาญตามระดับคุณภาพของมาตรฐานการปฏิบัติงาน  หรืออย่างน้อยจะต้องมีการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กำหนดว่ามีความรู้  ความสามารถ  และความชำนาญ    เพียงพอที่จะดำรงสถานภาพของการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต่อไปได้หรือไม่    นั่นก็คือการกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี
          3.  มาตรฐานการปฏิบัติตน   หมายถึง   ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประพฤติตนของ ผู้ประกอบวิชาชีพ  โดยมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นแนวทางและข้อพึงระวังในการประพฤติปฏิบัติ  เพื่อดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียง  ฐานะ  เกียรติ  และศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ  ตามแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพที่คุรุสภาจะกำหนดเป็นข้อบังคับต่อไป     หากผู้ประกอบวิชาชีพผู้ใดประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นจนได้รับการร้องเรียนถึงคุรุสภาแล้ว  ผู้นั้นอาจถูกคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัย  ชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้ 
                   (1)    ยกข้อกล่าวหา  
                   (2)    ตักเตือน   
                   (3)    ภาคทัณฑ์    
                   (4)   พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร    แต่ไม่เกิน    5    ปี
                   (5)   เพิกถอน
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (มาตรา 54)
           สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสำรวจความคิดเห็น  จัดประชุมสัมมนา  ประชุมเชิงปฏิบัติการ  ประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  ทั้งด้านการผลิต การพัฒนา  และการประกอบวิชาชีพ  รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ    เพื่อนำมากำหนดเป็นสาระสำคัญของมาตรฐานวิชาชีพ    ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุรุสภาในคราวประชุมครั้งที่  5/2548   วันที่    21  มีนาคม 2548 และที่ประชุมคณะกรรม การคุรุสภาครั้งที่  6/2548  วันที่  18  เมษายน  2548  ได้อนุมัติให้ออกข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งจะต้องประพฤติปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลดีต่อผู้รับบริการ อันถือเป็นเป้าหมายหลักของการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ให้สามารถนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพให้สมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูงและได้รับการยอมรับยกย่องจากสังคม
          มาตรฐานวิชาชีพครู
          มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
          มาตรฐานความรู้
          มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภา รับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้
          1.  ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
          2.  การพัฒนาหลักสูตร
          3.  การจัดการเรียนรู้
          4.  จิตวิทยาสำหรับครู
          5.  การวัดและประเมินผลการศึกษา
          6.  การบริหารจัดการในห้องเรียน  
          7.  การวิจัยทางการศึกษา
          8.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
          9.  ความเป็นครู
มาตรฐานที่ 1 ภาษาและเทคโนโลยี
          สาระความรู้
          1) ภาษาไทยสำหรับครู
          2) ภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ สำหรับครู  
          3) เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู
สมรรถนะ
          1) สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาไทย  เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง
          2) สามารถใช้ทักษะในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เพื่อการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง
          3) สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานทักษะภาษาไทยและภาษาอังกฤษนั้นมีการแบ่งทักษะทางภาษาคล้ายคลึงกัน คือ แบ่งเป็น 4 ทักษะ คือ ทักษะการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน
                   - ทักษะการฟัง ครูต้องฟังอย่างมีวิจารณญาณ
                   - ทักษะการพูด นับได้ว่าเป็นทักษะที่มีความสำคัญกับผู้ที่จะประกอบวิชาชีพครูมาก ครูควรพูดชัดถ้อยชัดคำ พูดถูกหลักภาษา ในภาษาไทยก็ต้องพูดเสียงควบกล้ำต่างๆชัดเจน
                   - ทักษะการอ่าน ครูต้องมีการขวนขวายในการอ่านเนื้อหาสาระเพิ่มเติมอยู่เสมอ
                   - ทักษะการเขียน ครูต้องมีทักษะในการใช้กระดาน เวลาเขียนกระดานลำตัวจะต้องไม่บังเด็ก และต้องฝึกการเขียนให้มีความสวยงามและเขียนคำศัพท์ต่างๆอย่างถูกต้องด้วย
          นอกจากนี้ในเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ครูจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษามือ และอักษรเบลล์ เพื่อจะสามารถสื่อสารกับผู้เรียนได้ และครูต้องเป็นผู้แนะแนวและเป็นผู้วิจัยไปพร้อมๆกันเพื่อพัฒนาพัฒนาการของเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ
          สำหรับเทคโนโลยีนั้นจะนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดการด้านการสอนของครู เพื่อให้การสอนในห้องเรียนเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ครูจึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีด้วย เพื่อที่จะนำมาใช้ทำสื่อประกอบการสอน เพื่อที่จะให้เด็กเกิดความรู้อย่างเต็มศักยภาพ
มาตรฐานที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร
          หลักสูตร : กรอบการทำการจัดการเรียนการสอน  สามารถแบ่งหลักสูตรออกได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ คือ หลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษา
          หลักสูตรแกนกลาง : เป็นตัวกำหนดว่าเด็กจะต้องมีการเรียนรู้อะไรบ้าง  หลักสูตรจึงเป็นเหมือนกรอบกำหนดความรู้ที่ควรได้รับในแต่ละช่วงอายุ โดยจะกำหนดโครงสร้างที่เป็นสาระการเรียนรู้
หลักสูตรสถานศึกษา : สถานศึกษาต้องนำโครงสร้างของหลักสูตรแกนกลางไปจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา โดยคำนึงถึงสภาพปัญหา ความพร้อม เอกลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
          นอกจากนี้สถานศึกษาสามารถจัดทำสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
หลักสูตรแบบต่างๆ
          หลักสูตรรายวิชา (The Subject Curriculum)  โครงสร้างของเนื้อหาวิชาในหลักสูตร จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
 หลักสูตรกว้าง (The Broad-Field Curriculum) มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้การเรียนการสอนเป็นสิ่งที่น่าสนใจและเร้าใจ ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้ดี รวมทั้งให้มีพัฒนาการทางด้านต่างๆ ทุกด้าน
          หลักสูตรบูรณาการ (The Integrated Curriculum)
          หลักสูตรแกนเป็นหลักสูตรบังคับให้ทุกคนต้องเรียน อาจเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรแม่บท หรือเป็นตัวหลักสูตรแม่บทก็ได้ จุดเน้นของหลักสูตรจะอยู่ที่วิชาหรืสังคมก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะเน้นสังคมโดยยึดหน้าที่ของบุคคลในสังคม
          ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์  แนวคิดในการพัฒนานั้นเริ่มต้นจากคำถามพื้นฐาน 4 คำถามดังต่อไปนี้
          1.   จุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่สถานศึกษาต้องการ
          2.   ประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่สามารถจัดได้และสนองตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
          3.   ประสบการณ์ทางการศึกษาเหล่านั้นจะจัดให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร
4.   จะประเมินได้อย่างไรว่าประสบการณ์การศึกษาที่จัดให้นั้นได้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด โดยมีรูปแบบการพัฒนามี 3 ขั้นตอน คือ
                   1. กำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
                   2. การเลือกประสบการณ์การเรียน : จัดลำดับ ก่อน-หลัง
                   3. การประเมินผล
          การพัฒนาหลักสูตรนั้น จะต้องมีความสอดคล้องกับสภาพของสังคม พัฒนาการของผู้เรียน ความเหมาะสม มีการบูรณาการของประสบการต่างๆ มีการประเมินผลในขั้นสุดท้าย การพัฒนาจะต้องมีระบบและต้องอาศัยการพัฒนาอย่างจริงจัง
มาตรฐานที่ 3 การจัดการเรียนรู้
             การเรียนรู้ ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ
          1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้
          2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน
หลักการจัดการเรียนรู้
          1. เด็กทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง
          2. การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดแค่การเรียนในห้องเรียน แต่การเรียนรู้สามารถเกิดได้ในทุกที่
          3. การเรียนรู้ต้องตอบสนองความต้องการของผู้เรียน
          4. การเรียนรู้ต้องคำนึงว่าเด็กทุกคนย่อมมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ต้องเน้นการพัฒนาในทุกด้าน เพื่อที่จะให้เด็กแสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่
          5. ผู้เรียนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ มีการบูรณาการกับชีวิตประจำวัน
          6. การเรียนรุ้ต้องเกิดความรู้ใหม่
ทฤษฎีการเรียนรู้
          1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory) การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้า
          2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory) การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต
เกณฑ์ในการประเมินผล  :  วัดประเมินตามสภาพจริง
มาตรฐานที่ 4 จิตวิทยาสำหรับครู
จิตวิทยาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของมนุษย์
ทฤษฎีของพีอาร์เจ มี 4 ระยะคือ
          1. ระยะการรับสัมผัส                                           
          2. ระยะเตรียมการทางสมอง : เหตุผล
          3. ระยะเรียนรู้รูปธรรม : รู้จักเปรียบเทียบสิ่งต่างๆ            
          4. ระยะเรียนรู้สิ่งที่เป็นมโนธรรม
ทฤษฎีของฟรอยด์  มี 5 ระยะ คือ
          1. ขั้นปาก :เด็กจะมีความสุขอยู่ที่การใช้ปาก
          2. ขั้นทวารหนัก : ความสุขอยู่ที่การใช้ทวารหนัก
          3. ขั้นอวัยวะเพศ : ความสุขอยู่ที่การผูกพันกับพ่อแม่
          4. ขั้นแฝง : ความสุขอยู่ที่การเก็บกดทางเพศ
          5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม : ความสุขอยู่ที่การสนใจเพศตรงข้าม
          จิตวิทยาการศึกษา  เป็นศาสตร์ที่ช่วยให้ครูสามารถนำหลักจิตวิทยาไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เข้าใจความแตกต่าระหว่างบุคคล พัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วน 2 ส่วนที่สำคัญ คือ การเรียนรู้และการจูงใจ การจูงใจ จะช่วยในการโน้มน้าวใจให้เขาอยากเรียนมากขึ้น เมื่อเขาได้ทำในสิ่งที่เขาชอบ เขาก็จะเกิดความรู้สึกอยากที่จะเรียนขึ้นมา ครูก็ต้องพยายามที่จะหาวิธีโน้มน้าวใจ ให้เด็กเกิดการอยากเรียนรู้ให้มากที่สุด อาจแบ่งได้ 3 ระยะ คือ
          1. ระยะความสนใจ          
          2. ระยะความสำเร็จ
          3. ระยะเครื่องล่อใจ
          การแนะแนว หมายถึง การช่วยเหลือบุคคลให้ช่วยเหลือตนเองได้ ช่วยบุคคลให้เลือกวิธีการแก้ปัญหา สามารถปรับตัวได้ โดยครูจะเป็นเพียงผู้ที่แนะนำเท่านั้น แต่ผู้ที่จะต้องตัดสินใจก็คือตัวเด็กเอง ครูต้องคำนึงเสมอว่าเด็กทุกคนย่อมมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคล ดังนั้นปัญหาที่เกิดกับเด็กแต่ละคนก็ย่อมที่จะแตกต่างกัน ครูก็ต้องช่วยหาทางแก้ไขปัญหาให้กับเด็กในหลายรูปแบบ  เนื่องจากมนุษย์มีลักษณะ ดังนี้
          1. มนุษย์มีความแตกต่างกัน                 
          2. มนุษย์ต้องการความช่วยเหลือ  
          3. พฤติกรรมต่างๆต้องมีสาเหตุ              
          4. มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี
          5. มนุษย์มีคุณค่า                             
          6. ความสุขมาจากการพัฒนาทุกด้าน
ขอบข่าย จิตวิทยาการศึกษา มีดังนี้
          1. จิตวิทยาการศึกษา    
          2. จิตวิทยาการอาชีพ    
          3. จิตวิทยาการแนะแนวสังคม
มาตรฐานที่ 5 การวัดและประเมินผลทางการศึกษา
        การวัดผล หมายถึง กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลข หรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะหรือคุณภาพของสิ่งที่วัด โดยใช้เครื่องที่มีประสิทธิภาพหารายละเอียดสิ่งที่วัดว่ามีจำนวนหรือ
ปริมาณเท่าใด
          การประเมินผล (Evaluation)    เป็นกระบวนการพิจารณาหรือตัดสินคุณค่าของสิ่งของหรือการกระทำ โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันได้ และในการตัดสินคุณค่าดังกล่าว มักจะใช้ผลการจากการวัดเป็นข้อมูลพื้นฐานเสมอ
          การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง
การประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
           1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน
          2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนด
          การวัดและประเมินผลทางการศึกษาจะต้องไม่เน้นการสอบเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะประเมินผลตามสภาพจริง เน้นการปฎิบัติควบคู่กันไปด้วย ไม่ควรที่จะแยกการวัดและการประเมินออกจากกิจกรรมการสอนในชั้นเรียน
          การประเมินผลการเรียนรู้ต้องนำไปสู่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวผู้เรียนรอบด้าน โดยต้องใช้เครื่องมือที่หลากหลาย และการเลือกใช้เครื่องมือวัดขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการประเมิน 
          1.การประเมินเพื่อวินิจฉัยผู้เรียน  (ก่อนเรียน)  เพื่อค้นหาความพอเพียงของความรู้และความสามารถ
          2  การประเมินเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการเรียนการสอน  (ระหว่างเรียน) มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุถึงผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่เพียงใด 
          3  การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียน (หลังเรียน)  มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถประยุกต์ความรู้ได้เพียงใด  สมควรผ่านรายวิชานั้นหรือไม่ 
การประเมินแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
          1. Performance Evaluation เป็นการประเมินผู้เรียน โดยวัดตามสภาพจริง โดยอาศัยการปฎิบัติ เกณฑ์ที่ใช้ต้องคำนึงว่าสิ่งที่จะวัดใช้ได้จริง เน้นการวัดแบบปฎิบัติงาน
          2. Summative Evaluation เป็นการประเมินผลรวมสรุป มุ่งที่จะหาข้อมูลข่าวสารเพื่อสรุปว่า  ผู้เรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด  ซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของครูผู้สอน โดยเฉพาะการให้ระดับคะแนนแก่ผู้เรียนต่อไป  
          3. Formative Evaluation เป็นการประเมินว่าผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ ถ้าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ก็อาจจัดให้มีการซ่อมเสริม เป็นต้น
มาตรฐานที่ 6 การบริหารจัดการห้องเรียน
          การบริหารจัดการห้องเรียน หมายถึง การจัดการกระบวนการทำงาน ประกอบด้วย  การวางแผน (planning)  การจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่  การนำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การควบคุม เป็นการจัดระเบียบเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยครูจะต้องเข้าใจผู้เรียน มีการเตรียมพัฒนาผู้เรียน ใช้สื่อการเรียนที่เหมาะสม มีการเตรียมการประเมิน ครูจะต้องสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนได้ ต้องมีการเข้าใจว่าผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน แปรความหวังของครูไปเป็นระเบียบกฎเกณฑ์
          การจัดห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องจัดระเบียบ วางแนวการจัดห้องเรียนที่ดี อาศัยการเริ่มต้นในช่วงแรกให้ดี และปฎิบัติอย่างนั้นมาตลอด จึงจะสามารถบรรลุเป้าหมาย ครูจะต้องจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กมีการเรียนรู้มากที่สุด
          แนวทางการจัดการห้องเรียน ครูต้องกำหนดข้อควรปฏิบัติให้แก่ผู้เรียน  มีการอธิบายรายละเอียดของงานอย่างเป็นระบบ  ครูต้องกำกับดูแลความเรียบร้อยของห้องเรียนให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย  และให้เด็กมีการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
 มาตรฐานที่ 7 การวิจัยทางการศึกษา
          คำว่า "การวิจัย"   ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า  "Research"   Re   มีความหมายว่า  อีก   Search  แปลว่า  "การค้นหา"  ดังนั้นคำว่า "การวิจัย: Research" จึงแปลว่า การค้นหาแล้วค้นหาอีก
ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่ผู้วิจัยสนใจที่จะวัดเพื่อให้ได้ข้อมูลออกมาในรูปใดรูปหนึ่ง และคุณลักษณะของสิ่งต่างๆ ที่สามารถแปรเปลี่ยนค่าได้ เช่น เพศ แปรค่าได้เป็น เพศชายและเพศหญิง      
 ประเภทของตัวแปร 
          ตัวแปรเชิงปริมาณ(Quantitative Variables) เป็นตัวแปรที่แตกต่างกันในระหว่างพวกเดียวกันหรือค่าที่แปรออกมาแตกต่างกันออกไปตามความถี่จำนวนปริมาณมากน้อยหรือลำดับที่
          ตัวแปรเชิงคุณภาพ(Qualitative Variables) เป็นตัวแปร ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันในแง่ของชนิดหรือประเภทโดยใช้ชื่อเป็นภาษาที่แสดงถึงคุณลักษณะของสิ่งต่าง ๆ
          ตัวแปรค่าต่อเนื่อง (Continuous Variables) เป็นตัวแปรที่มีค่าต่อเนื่องกันตลอด เช่น ส่วนสูงน้ำหนัก
          ตัวแปรค่าไม่ต่อเนื่อง(Discrete Variables) ตัวแปรประเภทนี้มีค่าเฉพาะตัวของมัน แยกออกจากกันเด็ดขาดวัดค่าเป็นจำนวนเต็ม
          ตัวแปรที่กำหนดได้(Active Variables) เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสามารถกำหนดให้กับผู้รับการทดลองได้เช่น วิธีสอน
          ตัวแปรที่จัดกระทำขึ้นไม่ได้(Attribute of Organismic Variables) เป็นตัวแปรที่ยากจะกำหนดให้ผู้รับการทดลองได้ตัวแปรเหล่านี้เป็นลักษณะของผู้รับการทดลอง
 มาตรฐานที่ 8 เทคโนโลยีและนวัตกรรม
          เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและใช้ร่วมกับกระบวนการทางการศึกษาจิตวิทยา ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้
          นวัตกรรม คือ การนำวิธีใหม่ๆมาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว  มี 3 ระยะ คือ
          1.ระยะการคิดค้น (Invention)
          2.ระยะการพัฒนา (Development) 
          3.  ระยะนำมาปฏิบัติจริง
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรม ต้องคำนึงถึง
          1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
          2. ความพร้อม (Readiness) 
          3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
          4. ประสิทธิภาพในการเรียน
ลำดับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มี 9 ระยะ คือ
          1. สร้างกรอบแนวคิด
          2. วิเคราะห์หลักสูตร 
          3. กำหนดวัตถุประสงค์ 
          4. กำหนดคุณลักษณะสื่อการสอน 
          5. การสำรวจทรัพยากรการผลิต
          6. ออกแบบสื่อการสอน
          7. วางแผนและดำเนินการผลิต
          8. ตรวจสอบคุณภาพ
          9. สรุปและประเมินผล
นวัตกรรมในด้านต่างๆ แบ่งนวัตกรรมออก 5 ประเภท คือ
          1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น
          2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล
          3. นวัตกรรมสื่อการสอน หมายถึง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม นำมาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ได้แก่
                   - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
                   - มัลติมีเดีย (Multimedia)
                   - การประชุมทางไกล (Teleconference)
                   - ชุดการสอน (Instructional Module)
                   - วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)
          4. นวัตกรรมการประเมินผล เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว
          5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ หมายถึง การใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
          E-learning เป็นการเรียนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิค สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ทุกคน ห้องเรียนเสมือนจริง อาศัยสื่ออิเล็คทรอนิก และคอมพิวเตอร์ มี 2 รูปแบบ คือ การศึกษาทางไกล และการจัดการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตสื่อมัลติมีเดีย เช่น ข้อความอิเล็คทรอนิก ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การเรียนรู้มี 3 แบบ คือ
                   1. ผู้สอน-ผู้เรียน          
                   2. ผู้เรียน-ผู้เรียน         
                   3. ผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน
          ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น(Independent Variables) เป็นตัวแปรที่จะทำให้เกิดสิ่งอื่นตามมา เป็นตัวแปรที่เป็นเหตุตัวแปรที่มาก่อน 
          ตัวแปรตาม(Dependent Variables) เป็นตัวแปรที่เป็นผลเป็นตัวแปรที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้น 
ตัวแปรแทรกซ้อน(Extraneous Variables) เป็นตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นโดยผู้วิจัยต้องพยายามควบคุมตัวแปร
มาตรฐานที่ 9 ความเป็นครู
          ความสำคัญของวิชาชีพครู ครู คือ บุคคลที่สั่งสอนอบรมวิชาความรู้ต่าง ๆ  นอกจากนั้นแล้วครูจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ต่อสุขทุกข์ของศิษย์  ความเจริญก้าวหน้าของศิษย์และคอยปกป้องมิให้ศิษย์กระทำความชั่วต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนั้นครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติอย่างยิ่งเพราะครูเป็นทั้งผู้สร้าง  และผู้กำหนดอนาคตของเยาวชน  สังคมและประเทศชาติ  ให้พัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการและถูกต้อง
บทบาทและหน้าที่ของครู
          ครูนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติเพราะครูมีหน้าที่ต้องพัฒนาคน   พัฒนาความคิด  พัฒนาความรู้   และพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่เยาวชนของชาติ
ดังนั้นจึงได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของครูไว้ดังนี้
          1.  ครูจะต้องเป็นนักวิจัย 
          2.  ครูต้องเป็นนักวิเคราะห์ 
          3.  ครูต้องเป็นนักวิจารณ์ทั้งปัญหาของตนเอง 
          4.  ครูจะต้องมีความสามารถนำคุณค่าของบทเรียนมาเป็นตัวเชื่อมโยงผสมผสานให้เกิดการแก้ไขปัญหาในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
          ภาระงานของครู/อาจารย์ หมายถึง งานในหน้าที่ความรับผิดชอบ กรอบภาระงานของครู/อาจารย์ แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ
          1. งานการผลิตบัณฑิต / ผู้เรียน
          2. งานวิจัยและสร้างสรรค์วิชาการ
          3. งานบริการทางวิชาการ
          4. งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
          5. งานกิจการของผู้เรียน
          6. งานบริหารและบริการ
          7. งานเฉพาะกิจ (งานที่สถาบันมอบหมายให้ปฏิบัติ)
          การพัฒนาวิชาชีพของครู หมายถึง  กิจกรรมใด ๆ ในระหว่างการปฏิบัติงานของครู  ทั้งที่เป็นไปตามแผนหรือครูริเริ่มเอง  ในการปรับปรุงความรู้  ทักษะและเจตคติที่มีเป้าหมาย  เพื่อให้ครูมีพัฒนาการทางวิชาชีพ
คุณลักษณะที่ดีของครู
          1. ความมีระเบียบวินัย ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ 
          2. ความซื่อสัตย์สุจริต การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
          3. ความขยัน ประหยัด  และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม 
          4. ความสำนึกในหน้าที่และการงาน ความประพฤติที่ไม่เอาเปรียบสังคม
          5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล  ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
          6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
          7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์   ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  ความมั่นคงและจิตใจ ให้สมบูรณ์
มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
          8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และมีอุดมคติเป็นที่พึ่งความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น 
          9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุง ศิลปะ วัฒนธรรม     และทรัพยากรของชาติ ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
          10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคี
การสร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู
          เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู  อาจครอบคลุมถึงความรู้สึกหรือมีศรัทธาต่องานการสอนและ     กิจกรรมที่ทำการสร้างสมรรถภาพความเป็นครู
          1. ปฏิบัติตนและพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ยึดมั่นอยู่ในคุณงามความดี  ความถูกต้อง  และความชอบธรรม
          2. พัฒนาตนให้เป็นผู้มีความรู้  ความสามารถ  และความชำนาญในการปฏิบัติงาน  มีความคิดที่ทันสมัย  และรู้จักปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ
เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู
          1. ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
          2. ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน
          3. มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
          4. พัฒนาแผนการสอนให้มีสามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
          5. พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
          6. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
          7. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
          8. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
          9. ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
          10. ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
          11. แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
          12. สร้างโอกาสในการพัฒนาผู้เรียนได้ทุกสถานการณ์
สภาวิชาชีพครู
พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.. 2546
          เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไปและกำหนดให้มีองค์กรวิชาชีพครู 2 องค์กร ได้แก่ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า คุรุสภาและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ความหมาย
          1. วิชาชีพ หมายถึง วิชาชีพทางการศึกษาทำหน้าที่หลัก ด้านการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาและการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษา ตลอดจนสนับสนุนการศึกษา การให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริการการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
          2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา หมายถึง ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบการวิชาชีพตาม พระราชบัญญัตินี้
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
          สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า คุรุสภามีฐานะเป็นนิติบุคคลในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
วัตถุประสงค์ของคุรุสภา
          1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
          2. กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
          3. ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
อำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
          1. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ
          2. ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพ
          3. ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
          4. พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
          5. สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
          6. ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
          7. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
          8. รับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญการในการประกอบวิชาชีพ
          9. ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
          10. เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
          11. ออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วย
                   11.1 การกำหนดลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 13
                   11.2 ออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาต และการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
                   11.3 หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบประกอบวิชาชีพคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
                   11.4 จรรยาบรรณของวิชาชีพและการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่ง ความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แก่วิชาชีพ
                   11.5 มาตรฐานวิชาชีพ
                   11.6 วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
                   11.7 องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
                   11.8 หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาการคุรุสภา
                   11.9 การใด ๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ
          12. ให้คำปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
          13. ให้คำปรึกษาหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
          14. กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
          15. ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
คณะกรรมการคุรุสภา
คณะกรรมการคุรุสภา ประกอบด้วย
          1. กรรมการโดยตำแหน่ง 8 คน
          2. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน
          3. กรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ หรือ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา จำนวน 4 คน
          4. กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา 19 คน
ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ เลขาธิการคุรุสภา เป็นเลขานุการ
วาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี จะดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการคุรุสภาดังนี้
          1. บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งกำหนดไว้ใน พระราชบัญญัตินี้
          2. ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
          3. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา 54
          4. เร่งรัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
          5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ คุรุสภา
          6. ควบคุมดูแลการดำเนินการและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนถึงออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศหรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ในเรื่องต่อไปนี้
                   6.1 การจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและขอบเขตหน้าที่ของส่วนงาน
ดังกล่าว
                   6.2 การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะ อัตราเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทนอื่น
ของพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
                   6.3 คัดเลือก บรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัย และการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์ การลงโทษของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งวิธีการ เงื่อนไขในการจ้างพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
                   6.4 การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของคุรุสภา
                   6.5 กำหนดอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน
          7. กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
          8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
          9. พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีจำนวน 16 คน ประกอบด้วย
          1. กรรมการโดยตำแหน่ง 3 คน
          2. ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ด้านบริหาร และกฎหมาย
          3. กรรมการจากคณาจารย์ ในคณะคุรุศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา 2 คน
          4. กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา 6 คน
          5. เลขาธิการคุรุสภาเป็นกรรมการและเลขานุการ
          วาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี แต่จะอยู่ในตำแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวิชาชีพ
          1. พิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และการพักใช้หรือ เพิกถอนใบอนุญาต
          2. กำกับดูแลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
          3. ส่งเสริม พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภากำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณ ในการประกอบวิชาชีพ
          4. ส่งเสริม ยกย่อง และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศในสาขาต่างๆ ตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
          5. แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
          6. ปฏิบัติการอื่นใดที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
          7. พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมารคุรุสภามอบหมาย
การประกอบวิชาชีพควบคุม
วิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่
          1. วิชาชีพครู
          2. วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
          3. วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
          4. วิชาชีพควบคุมอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมได้จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้
          1. ผู้เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรทางการศึกษา
          2. ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
          3. นักเรียน นักศึกษา หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
          4. ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
          5. ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถานบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
          6. คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรีและ
เอกชน
          7. ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
          8. บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
          บุคคลที่ฝ่าฝืน จะต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
          1. อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
          2. มีวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
          3. ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
          ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา ดังนี้
          1. มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย
                   1.1 มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
                   1.2 มาตรฐานการปฏิบัติงาน
                   1.3 มาตรฐานการปฏิบัติตน
          2. มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณวิชาชีพ ประกอบด้วย
                   2.1 จรรยาบรรณต่อตนเอง
                   2.2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                   2.3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                   2.4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                   2.5 จรรยาบรรณต่อสังคม
การควบคุมจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ
          เมื่อบุคคลใดได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้ได้รับความเสียหายสามารถที่จะดำเนินยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการคุรุสภา โดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
          1. ยื่นคำร้องต่อกรรมการคุรุสภา หรือกรรมการมาตรฐานวิชาชีพหรือบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษ ผู้ประกอบวิชาชีพภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับความเสียหาย
          2. คุรุสภารับเรื่องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพโดยไม่ชักช้า
          3. ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ แจ้งข้อกล่าวหา แก่ผู้ถูกกล่าวหาล่วงหน้า 15 วัน ก่อนเริ่มพิจารณา
          4. ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษชี้แจงหรือนำพยานหลักฐานส่งให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ภายใน 15 วัน
          5. คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาด อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
                   5.1 ยกข้อกล่าวหา
                   5.2 ตักเตือน
                   5.3 ภาคทัณฑ์
                   5.4 พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาที่เห็นสมควร แต่ไม่เกิน 5 ปี
                   5.5 เพิกถอนใบอนุญาต
          6. ผู้ได้รับโทษอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการคุรุสภา ภายใน 30 วัน
          7 คณะกรรมการคุรุสภา วินิจฉัยถือเป็นที่สุด
อัตราค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับใบประกอบวิชาชีพ
          (1) ค่าขึ้นทะเบียน ฉบับละ 600 บาท
          (2) ค่าต่อใบอนุญาต ครั้งละ 200 บาท
          (3) ค่าหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน ฉบับละ 300 บาท
          (4) ค่าหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ฉบับละ 400 บาท
          (5) ค่าใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 200 บาท
พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
หมวด1 สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
          ส่วนที่1 บททั่วไป มาตรา 7-11
          ส่วนที่2
คณะกรรมการคุรุสภา มาตรา 12-20
          ส่วนที่3
คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ มาตรา 21-25
          ส่วนที่4
การดำเนินงานของคุรุสภา มาตรา 26-42
          ส่วนที่5
การประกอบวิชาชีพควบคุม มาตรา 43-57
          ส่วนที่6
สมาชิกคุรุสภา มาตรา 58-61
หมวด2 คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
          ส่วนที่3 การกำกับดูแล มาตรา 75-77
หมวด 4
บทกำหนดโทษ มาตรา 78-79 บทเฉพาะกาล มาตรา 80-90
          พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 มาตราที่ 1-90
        ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เป็นปีที่ 58 ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าhttp://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifโดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่ง มาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 39 และ มาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 3 ให้ยกเลิก
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) พระราชบัญญัติ ครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2495
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) พระราชบัญญัติ ครู (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2509
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) พระราชบัญญัติ ครู (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2519
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifบรรดากฎหมาย กฎ ข้อบังคับ คำสั่งอื่นในส่วนที่มีบทบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
          มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"กระทรวง" หมายความว่า กระทรวงศึกษาธิการ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"วิชาชีพ" หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน และการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา" หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"ครู" หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"ผู้บริหารสถานศึกษา" หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานที่ศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"ผู้บริหารการศึกษา" หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"บุคคลกรทางการศึกษา" หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริการการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"หน่วยงานการศึกษา" หมายความว่า สถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่กำกับดูแล สนับสนุน ส่งเสริมให้บริการเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"สถานศึกษา" หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชนที่มีอำนาจหน้าที่ หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"ใบอนุญาต" หมายความว่า ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพซึ่งออกให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลลากรทางการศึกษาอื่น ตามพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"เจ้าหน้าที่" หมายความว่า บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 5 การประกอบวิชาชีพต้องอยู่ภายใต้บังคับหลักเกณฑ์การมีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออก
          กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาอันเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน อำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่ง หรือหน่วยงานต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมวด 1 สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 7 ให้มีสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า "คุรุสภา" มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 8 คุรุสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาต กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) ประสาน ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 9 คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงาน ของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไป ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) พักการใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(6) ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(7) รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร และวุฒิบัตรของสถาบันต่างๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(8) รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้งความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(9) ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(10) เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(11) ออกข้อบังคับของคุรุสภาว่าด้วย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ก) การกำหนดลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 13
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ข) การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต การเพิกถอนใบอนุญาตและการรับรองความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาชีพ ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ค) หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอรับใบอนุญาต
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ง) คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(จ) จรรยาบรรณของวิชาชีพ และการประพฤติผิดจรรยาบรรณอันจะนำมาซึ่งความเสื่อม
สียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ฉ) มาตรฐานวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ช) วิธีการสรรหา การเลือก การเลือกตั้ง และการแต่งตั้งคณะกรรมการคุรุสภา และคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ซ) องค์ประกอบ หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ฌ) หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ญ) การใดๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(12) ให้คำปรึกษา หรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายหรือปัญหาการพัฒนาวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(13) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็น ต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพหรือการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศต่างๆ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(14) กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(15) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifข้อบังคับของคุรุสภาตาม (11) นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี และเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifการเสนอร่างข้อบังคับของคุรุสภาจะ กระทำได้เมื่อคณะกรรมการคุรุสภามีมติเห็นชอบกับร่างข้อบังคับดังกล่าว และให้ประธานกรรมการคุรุสภาเสนอร่างข้อบังคับนั้นต่อรัฐมนตรีโดยไม่ชักช้า รัฐมนตรีอาจยับยั้งร่างข้อบังคับนั้นได้ แต่ต้องแสดงเหตุผลโดยแจ้งชัด หากมิได้ยับยั้งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบังคับ ให้ถือว่ารัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับนั้น ถ้ารัฐมนตรียับยั้งร่างข้อบังคับใด ให้คณะกรรมการคุรุสภาประชุมอีกครั้งหนึ่งภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการยับยั้ง ในการประชุมครั้งหลังนี้ถ้ามีคะแนนเสียงยืนยันมติไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งคณะ ให้ประธานกรรมการคุรุสภาเสนอร่างข้อบังคับดังกล่าวต่อรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ถ้ารัฐมนตรีมิได้ให้ความเห็นชอบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างข้อบังคับ ให้ถือว่าร่างข้อบังคับนั้นได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีแล้ว
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifนอกจากอำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้คุรุสภามีอำนาจกระทำกิจการต่างๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ด้วย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองในทรัพย์สินหรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ทำนิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 10 คุรุสภาอาจมีรายได้ ดังนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินกิจการของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่คุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (1) (2) (3) และ (4)
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifรายได้ของคุรุสภาไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมาย ว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รวมทั้งไม่อยู่ในข่ายการบังคับตามกฎหมายภาษีอากร
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 11 ค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามประกาศของรัฐมนตรี ทั้งนี้ ต้องไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 12 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการคุรุสภา ประกอบด้วย
                   (1) ประธานกรรมการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือกฎหมาย
                   (2) กรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และหัวหน้าสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเจ็ดคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงด้านการบริหารการศึกษา การอาชีวศึกษา การศึกษาพิเศษ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกฎหมายด้านละหนึ่งคน ซึ่งในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ที่เป็นหรือเคยเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา ไม่น้อยกว่าสามคน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์หรือการศึกษา ซึ่งเลือกกันเองจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวนสามคน และจากสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวนหนึ่งคน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนเก้าสิบคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น และมาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาสถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามสัดส่วนจำนวนประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ให้เลขาธิการคุรุสภาเป็นเลขานุการ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา และหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 13 ประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ก) คุณสมบัติทั่วไป
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) มีสัญชาติไทย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) มีความซื่อสัตย์และยุติธรรมเป็นที่ประจักษ์
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ข) ลักษณะต้องห้าม
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) เคยมีประวัติเสื่อมเสียทางจริยธรรม จรรยาบรรณ และการประกอบวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือดำรงตำแหน่งซึ่งรับชอบการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) เป็นเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีสัญญาจ้างกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(6) เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(7) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับกิจการคุรุสภา หรือสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(8) มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifในกรณีที่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตาม (ข) (4) หรือ (ข) (5) ผู้นั้นต้องลาออกจากตำแหน่งเดิมก่อนปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะต้องกระทำภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้ง แต่ถ้ามิได้ลาออกภายในเวลาที่กำหนดให้ถือว่าผู้นั้นมิเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและให้รัฐมนตรีพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง ผู้ที่ได้รับการสรรหาในลำดับถัดไปดำรงตำแหน่งแทน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 15 นอกจากที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 13 กรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตาม มาตรา 14 (1) และต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอน และมีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นรวมกันไม่น้อยกว่าสิบปี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 16 กรรมการตาม มาตรา 12 (1) (3) (4) และ (5) ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับการแต่งตั้งอีก แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะมีการแต่งตั้งแทนหรือไม่ก็ได้ เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินการต่อไป จนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 17 นอกจากการพ้นตำแหน่งตามวาระ กรรมการตาม มาตรา 12 (1) (3) (4) และ (5) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ตาย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ลาออก
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างใดอย่างหนึ่งตาม มาตรา 13 มาตรา 14 หรือ มาตรา 15 แล้วแต่กรณี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 18 ก่อนครบวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการตาม มาตรา 12 (1) (3) (4) และ (5) ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่งจำนวนสิบเอ็ดคนจากคณะกรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 (2) จำนวนห้าคน และจากผู้แทนสมาคมวิชาการหรือวิชาชีพด้านการศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งเลือกกันเองจำนวนหกคน ทำหน้าที่สรรหาบุคคลที่สมควรเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 (1) และ (3) และจัดให้มีการประชุมคณบดีคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์และการศึกษา เพื่อเลือกกันเองให้ได้กรรมการตาม มาตรา 12 (4) รวมทั้งจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการที่มาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของคณะกรรมกาครุรุสภาตาม มาตรา 12 (5)
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน และดำเนินการสรรหา และเลือกตั้งให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifให้สำนักงานเลขาคุรุสภารับผิดชอบดำเนินการ ในทางธุรการของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 19 ในกรณีที่กรรมการคุรุสภาตาม มาตรา
12 (1) และ (3) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้อื่นซึ่งได้รับการสรรหาในลำดับถัดไปดำรงตำแหน่งแทนก็ได้ และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งไว้แล้ว
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifในกรณีที่กรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 (4) และ (5) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระให้ผู้ได้รับการเลือก หรือเลือกตั้งในลำดับถัดไป ดำรงตำแหน่งแทนก็ได้ และให้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifในกรณีที่มีรายชื่ออยู่ไม่พอเป็นกรรมการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ดำเนินการสรรหา คัดเลือก หรือเลือกตั้งใหม่ตาม มาตรา 18 แล้วแต่กรณี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifในกรณีที่กรรมการตาม มาตรา 12 (1) (3) (4) และ (5) พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้กรรมการจากคุรุสภาที่มีอยู่ เป็นกรรมการคุรุสภาต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการแทน และในกรณีที่ประธานกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้กรรมการที่เหลือเลือกผู้ทำหน้าที่ประธานกรรมการเป็นการชั่วคราว
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 20 ให้คณะกรรมการคุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) บริหารและดำเนินการตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของคุรุสภา ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตาม มาตรา 54
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) เร่งรัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ปฏิบัติตามอำนาจและหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(6) ควบคุมดูแลการดำเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาในเรื่อง ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ก) การแบ่งส่วนงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงาน
ดังกล่าว
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ข) การกำหนดตำแหน่ง คุณสมบัติเฉพาะ อัตราเงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนอื่นของพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ค) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัยและการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์การลงโทษของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งวิธีการ เงื่อนไข ในการจ้างพนักงานเจ้าหน้าที่ของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ง) การบริหารและจัดการการเงิน การพัสดุ และทรัพย์สินของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(จ) กำหนดอำนาจหน้าที่และระเบียบเกี่ยวกับ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(7) กำหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(8) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้ไว้เป็นอำนาจ และหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(9) พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่นตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
 ส่วนที่ 3 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 21 ให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ประธานกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสี่คน ซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาสรรหาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงด้านการศึกษา การบริหาร และกฎหมาย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) กรรมการจากคณาจารย์ในคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชนที่มีการสอนระดับปริญญาในสาขาวิชาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ หรือการศึกษา ซึ่งเลือกกันเองจำนวนสองคน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจำนวนหกคน ซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนไม่น้อยกว่าสิบปี หรือดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 หรือมีวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการขึ้นไป ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งไม่น้อยกว่าสิบปี และบุคลากรทางการศึกษาอื่นที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งไม่น้อยกว่าสิบปีให้เลขาธิการคุรุสภา เป็นกรรมการและเลขานุการ
การกำหนดให้มีคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอื่น ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 22 การสรรหา การเลือก และการเลือกตั้งกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตาม มาตรา 21 (3) (4)
และ (5) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 23 กรรมการมาตรฐานวิชาชีพตาม มาตรา 21 (3) (4) และ (5) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีกษณะต้องห้ามตาม มาตรา 13 มาตรา 14 มาตรา 15 แล้วแต่กรณี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 24 กรรมการมาตรฐานวิชาชีพตาม มาตรา 21 (1) (3) (4) และ (5) ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีก แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifเมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่ง เพื่อดำเนินการต่อไปจนกว่ากรรมการ ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifในกรณีที่กรรมการตามวรรคหนึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้นำความใน มาตรา 16 วรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifนอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามวรรคหนึ่ง กรรมการมาตรฐานวิชาชีพตาม มาตรา 21 (1) (3) (4) และ (5) พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ตาย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ลาออก
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) รัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) ขาดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 13 มาตรา 14 หรือ มาตรา 15 แล้วแต่กรณี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงสองในสาม ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 25 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) พิจารณาการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) ส่งเสริม พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภากำหนดมาตรฐาน และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) ส่งเสริม ยกย่อง และพัฒนาวิชาชีพไปสู่ความเป็นเลิศในสาขาต่างๆ ตามที่กำหนดให้ข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเพื่อกระทำการใดๆ อันอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ให้เป็นอำนาจ และหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(7) พิจารณาหรือดำเนินการในเรื่องอื่น ตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการคุรุสภามอบหมาย
ให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพเสนอ รายงานการดำเนินงานประจำปีต่อคณะกรรมการคุรุสภา ตามระเบียบที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
ส่วนที่ 4 การดำเนินงานของคุรุสภา http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 26 ให้คณะกรรมการคุรุสภามีการประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง การประชุมคณะกรรมการคุรุสภาต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 27 ในการประชุม ถ้าประธานกรรมการคุรุสภาไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 28 รัฐมนตรีจะเข้าร่วมประชุม และชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการคุรุสภา หรือจะส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังคุรุสภาในเรื่องใดๆ ก็ได้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 29 ให้นำความใน มาตรา 26 และ มาตรา 27 มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพหรือคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 30 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ อนุกรรมการ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 31 ให้กรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจเรียกบุคคลใดๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งให้บุคคลใดๆ ส่งเอกสารหรือวัตถุพยานที่จำเป็นต้อการดำเนินงานตามอำนาจและหน้าที่
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifหนังสือเรียกมาให้ถ้อยคำหรือหนังสือแจ้ง ให้ส่งเอกสารหรือวัตถุพยานตามวรรคหนึ่ง ต้องระบุด้วยว่าจะให้มาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือวัตถุพยานในเรื่องใด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 32 ให้กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ อนุกรรมการและคณะทำงานได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 33 กรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 (3) (4) และ (5) จะดำรงตำแหน่งตาม มาตรา 21 (3) (4)
และ (5) และ มาตรา 64 (3) และ (4) แล้วแต่กรณีคราวเดียวกันไม่ได้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 34 ให้มีสำนักงานเลขานุการคุรุสภามีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการอื่นที่คุรุสภามอบหมาย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินงานเสนอต่อคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 35 ให้สำนักงานเลขาธิการคุรุสภามีเลขาธิการคุรุสภาคนหนึ่งบริหารกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา รวมทั้งดำเนินการตามที่ประธานกรรมการคุรุสภา คณะกรรมการคุรุสภา ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมอบหมาย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifคณะกรรมการคุรุสภาเป็นผู้มีอำนาจสรรหา แต่งตั้ง และถอดถอนเลขาธิการคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาเลขาธิการคุรุสภาให้เป็นไป ตามข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 36 เลขาธิการคุรุสภาต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้แก่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้เต็มเวลา และต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ก) คุณสมบัติทั่วไป
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) มีสัญชาติไทย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบห้าปี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับกิจการของคุรุสภา ตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ตาม มาตรา 8 และ มาตรา 9
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ข) ลักษณะต้องห้าม
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตาม มาตรา 13 (ข) (1) (2) (3) หรือ (4)
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกิจการที่กระทำกับคุรุสภา

http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 37 เลขาธิการคุรุสภามีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีก แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 38 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ เลขาธิการคุรุสภาพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ตาย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ลาออก
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) คณะกรรมการคุรุสภาให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) ออกตามกรณีที่กำหนดไว้ใน ข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการคุรุสภากับเลขาธิการคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตาม มาตรา 36 มติของคณะกรรมการคุรุสภาให้เลขาธิการคุรุสภาออกจากตำแหน่งตาม (3) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 39 เลขาธิการคุรุสภามีหน้าที่บริการกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ของคุรุสภา ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติและประกาศของคณะกรรมการคุรุสภา และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในให้ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการคุรุสภา ตามระเบียบที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนดรวมทั้งให้มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ดูแลรักษาทะเบียนผู้ได้รับใบอนุญาต
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ควบคุมดูแลทรัพย์สินของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา รวมทั้งรายงานการเงินและบัญชี ตลอดจนเสนอแผนดำเนินงาน แผนการเงิน และงบประมาณของปีต่อไปต่อคณะกรรมการคุรุสภาเพื่อพิจารณา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการ และการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคุรุสภาต่อคณะกรรมการคุรุสภา เลขาธิการคุรุสภาต้องรับผิดชอบต่อคณะกรรมการคุรุสภาในการบริหารกิจการของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 40 เลขาธิการคุรุสภา มีอำนาจดังนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือน หรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงาน ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติ หรือประกาศที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 41 ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการคุรุสภาเป็นผู้แทนของคุรุสภาเพื่อการนี้ เลขาธิการคุรุสภาจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 42 ให้คณะกรรมการคุรุสภาเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของเลขาธิการคุรุสภา โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
 ส่วนที่ 5 การประกอบวิชาชีพควบคุม
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 43 ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษา เป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้าน การเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุม ของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 44 ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ก) คุณสมบัติ

http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือมีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(ข) ลักษณะต้องห้าม
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่า อาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 45 การขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต กำหนดอายุใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifผู้ขอรับใบอนุญาต ผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตหรือผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาต ซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพพิจารณาวินิจฉัยไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือไม่ออกใบแทนใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง อาจอุทธร์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการไม่ต่อใบอนุญาต หรือการไม่ออกใบแทนใบอนุญาตไม่ตัดสิทธิผู้ขอที่จะประกอบวิชาชีพที่ได้รับอนุญาตต่อไป ทั้งนี้ จนกว่าคณะกรรมการคุรุสภาจะได้มีคำวินิจฉัยถึงที่สุด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 46 ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้านวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภา และห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 47 ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขตามข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 48 ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 49 ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) มาตรฐานการปฏิบัติงาน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) มาตรฐานการปฏิบัติตน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifการกำหนดระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีการประเมินระดับคุณภาพของผู้รับใบอนุญาตอย่างต่อเนื่องเพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ และความชำนาญการ ตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คุรุสภากำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 50 มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพประกอบด้วย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) จรรยาบรรณต่อตนเอง
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) จรรยาบรรณต่อสังคม
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifการกำหนดแบบพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 51 บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ของผู้ได้รับใบอนุญาตมีสิทธิกล่าวหาผู้ได้รับใบอนุญาตนั้นโดยทำเรื่องยื่นต่อคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifกรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรือบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผู้ประกอบวิชาชีพว่าผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ โดยแจ้งเรื่องต่อคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifสิทธิการกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง หรือสิทธิการกล่าวโทษตามวรรคสองสิ้นสุดลงเมื่อพ้นหนึ่งปี นับแต่วันที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือผู้กล่าวโทษรู้เรื่องการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ดังกล่าวและรู้ตัวผู้ประพฤติผิด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifการถอนเรื่องการกล่าวหาหรือการกล่าวโทษที่ได้ยื่นไว้แล้วนั้น ไม่เป็นเหตุให้ระงับการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 52 เมื่อคุรุสภาได้รับเรื่องการกล่าวหาหรือกล่าวโทษตาม มาตรา 51 ให้เลขาธิการคุรุสภาเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพโดยไม่ชักช้า
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 53 ให้ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหา หรือข้อกล่าวโทษพร้อมทั้งส่งสำเนาเรื่องที่กล่าวหา หรือกล่าวโทษให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกกล่าวหาหรือกล่าวโทษล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนเริ่มพิจารณา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifผู้ถูกกล่าวหาหรือถูกกล่าวโทษมีสิทธิทำคำชี้แจงหรือนำพยานหลักฐานใดๆ ส่งให้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรืออนุกรรมการ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ หรือภายในเวลาที่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพกำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 54 คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ยกข้อกล่าวหา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ตักเตือน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) ภาคทัณฑ์
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินห้าปี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) เพิกถอนใบอนุญาต
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 55 ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพวินิจฉัยชี้ขาดตาม มาตรา 54 (2) (3) (4) หรือ (5) อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคณะกรรมการคุรุสภาภายในสามสิบวัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifการอุทธรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการคุรุสภาให้ทำเป็นคำสั่งคุรุสภา พร้อมด้วยเหตุผลของการวินิจฉัยชี้ขาด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 56 ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมหรือแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าในว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมจะประกอบวิชาชีควบคุม นับแต่วันที่ทราบคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตเท่านั้น
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 57 ผู้ได้รับใบอนุญาตซึ่งถูกสั่งเพิกถอนจะยื่นขออีกไม่ได้ จนกว่าจะพ้นห้าปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอน
ส่วนที่ 6 สมาชิกคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 58 สมาชิกของคุรุสภามีสองประเภท ดังนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) สมาชิกสามัญ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) สมาชิกกิตติมศักดิ์
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifการจดทะเบียนเป็นสมาชิกให้เป็นไปตามที่คุรุสภากำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 59 สมาชิกสามัญต้องเป็นผู้ไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 13 (ข) (1) (2) และ (3) และเป็นผู้มีใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifสมาชิกกิตติมศักดิ์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง คณะกรรมการคุรุสภาแต่งตั้งโดยมติเป็นเอกฉันท์
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 60 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญ มีดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif
                   (1) แสดงความเห็นและซักถามเป็น หนังสือเกี่ยวกับกิจการของคุรุสภาต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) เลือก รับเลือกตั้ง หรือรับแต่งตั้งเป็นกรรมการตาม มาตรา 12 หรือ มาตรา 21
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) ชำระค่าธรรมเนียม ตามประกาศของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ และปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifสมาชิกกิตติมศักดิ์ มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับสมาชิกสามัญ เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ตาม (2) และ (3)
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 61 สมาชิกภาพของสมาชิกย่อมสิ้นสุดเมื่อ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ตาย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ลาออก
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) คณะกรรมการคุรุสภามีมติให้พ้นจากสมาชิกภาพเพราะขาดคุณสมบัติตาม มาตรา 59
สำหรับกรณีสมาชิกสามัญ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) คณะกรรมการคุรุสภามีมติถอดถอนการเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด 2 คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 62 ให้มีคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวสัสดิการครู และบุคลากรทางการศึกษาทำหน้าที่บริหารงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น และความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ส่งเสริมความสามัคคีและ ผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ของกระทรวงในเรื่องสื่อการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์การศึกษาและเรื่องอื่นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนา การดำเนินงานด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ และผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 63 คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ดำเนินการด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น และความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาได้รับสวัสดิการต่างๆ ตามสมควร
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) ให้ความเห็น คำปรึกษา และคำแนะนำในเรื่องการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ สิทธิประโยชน์และความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษาแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) ดำเนินงานและบริหารจัดการองค์การจัดหาผลประโยชน์ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(6) ออกข้อบังคับและหลักเกณฑ์ในการดำเนินกิจการ ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(7) แต่งตั้งคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ หรือมอบหมายให้กรรมการส่งเสริมสวัสดิการและ สวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อกระทำการใดๆ แทน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(8) สรรหาและแต่งตั้งเลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(9) ดำเนินการให้เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ในการบริหารงานสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 64 ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคุรุสภา และเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนสามคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในด้านสวัสดิการสังคม บริหารธุรกิจ และกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) กรรมการที่ได้รับการเลือกตั้งจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จำนวนสิบสองคน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่มาจากสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา สถาบันอาชีวศึกษา สถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 65 กรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม มาตรา 64 (3) และ (4) ต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 13 มาตรา 14 และ มาตรา 15 แล้วแต่กรณี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่ง ของกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาตาม มาตรา 64 (3) และ (4) ให้นำความใน มาตรา 24 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 66 การประชุมของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้นำความใน มาตรา
26 และ มาตรา 27 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
 ส่วนที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 67 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
 มีฐานะเป็นนิติบุคคล ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) รับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับกิจการอื่นที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามอบหมาย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการดำเนินงานเสนอ ต่อคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifนอกจากอำนาจและหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีอำนาจกระทำกิจการต่างๆ ภายในขอบเขตแห่งวัตถุประสงค์ รวมทั้งให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ถือกรรมสิทธิ์ หรือมีสิทธิครอบครองในทรัพย์สินหรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ทำนิติกรรมสัญญาหรือข้อตกลงใดๆ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) เข้าร่วมลงทุนกับนิติบุคคลอื่น ในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการบริหารงานสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) กู้ยืมเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการ ตามวัตถุประสงค์ในการบริหารงานสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 68 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีรายได้ ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) เงินค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมต่างๆ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) เงินผลประโยชน์ต่างๆ จากการลงทุนและการจัดหาผลประโยชน์
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชน หรือองค์กรอื่นรวมทั้งจากต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ และเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) ผลประโยชน์จากการจัดการทรัพย์สิน และการดำเนินกิจการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(6) ดอกผลของเงินและทรัพย์สินตาม (2) (3) (4) และ (5)
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifรายได้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 69 ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาคนหนึ่งบริหารกิจการของสำนักงาน รวมทั้งดำเนินการตามที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามอบหมาย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นผู้มีอำนาจสรรหา แต่งตั้ง และถอดถอนเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 70 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาได้เต็มเวลา และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา
36
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษามีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกแต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifนอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ตาย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ลาออก
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ออกเพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(4) ออกตามกรณีที่กำหนดไว้ในข้อตกลงระหว่างคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษากับเลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(5) มีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตาม มาตรา 36
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมติของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิกา รและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาออกจากตำแหน่งตาม (3) ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 71 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติและประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง เว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจสอบภายในให้ขึ้นตรงต่อประธานกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามระเบียบที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด รวมทั้งให้มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ควบคุมดูแลทรัพย์สินของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งรายงานการเงินและบัญชี ตลอดจนเสนอแผนดำเนินงาน แผนการเงินและงบประมาณของปีต่อไปต่อคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพิจารณา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) เสนอความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการ และการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นไป ตามวัตถุประสงค์ต่อคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องับผิดชอบต่อคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการบริหารกิจการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 72 เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา มีอำนาจดังนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) บรรจุ แต่งตั้ง เลื่อน ลด ตัดเงินเดือน หรือจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) วางระเบียบเกี่ยวกับการดำเนินงาน ของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาโดยไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติหรือประกาศที่คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 73 ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นผู้แทนของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อการนี้ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการส่งเสริม สวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 74 ให้คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้กำหนดอัตราเงินเดือน และผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ของเลขาธิการคณะกรรมกมรส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
หมวด 3 การกำกับดูแล
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 75 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) กำกับดูแลการดำเนินงานของคุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งจัดสรรงบประมาณของรัฐให้คุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) สั่งเป็นหนังสือให้กรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของคุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา และจะให้ส่งเอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมของคณะกรรมการคุรุสภา และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาก็ได้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) สั่งเป็นหนังสือให้คุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษาระงับหรือแก้ไขการกระทำใดๆ ที่ปรากฏว่าขัดต่อวัตถุประสงค์ของคุรุสภา และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา กฎหมาย หรือข้อบังคับคุรุสภา และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 76 ให้คุรุสภาเสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของคุรุสภา รวมทั้งรายงานการเงินและบัญชี ตลอดจนเสนอแผนดำเนินงาน แผนการเงิน และงบประมาณของปีต่อไปต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 77 ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชีของคุรุสภาเป็นประจำทุกปี แล้วรายงานให้รัฐสภาทราบ
หมวด 4 บทกำหนดโทษ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 78 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 43 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 79 ผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 46 หรือ มาตรา 56 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 80 ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเท่าที่มีอยู่ตาม พระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488 ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการคุรุสภาและคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน และให้รัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่ง มีหน้าที่ดำเนินการให้ได้มาซึ่งคณะกรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม มาตรา 64 ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันประกอบด้วย
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนห้าคน ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนห้าคนจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านการศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกฎหมาย ด้านละหนึ่งคน
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(3) ผู้แทนสมาคมวิชาชีพด้านการศึกษาที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งเลือกกันเองจำนวนห้าคน
ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ และเลือกกรรมการอีกคนหนึ่งเป็นเลขานุการของคณะกรรมการhttp://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 81 ให้คณะกรรมการคุรุสภาตาม มาตรา 12 และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตาม มาตรา 64 ดำเนินการให้มีการแต่งตั้งเลขาธิการคุรุสภาและเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการคุรุสภา และคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการแต่งตั้ง
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 82 ให้เลขาธิการคุรุสภาตาม พระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488 ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา และเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาและให้รองเลขาธิการคุรุสภาตาม พระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488 ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการคุรุสภาและรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้ไปก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเลขาธิการตาม มาตรา 81
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifให้เจ้าหน้าที่และพนักงานของคุรุสภาตาม พระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488 เป็นเจ้าหน้าที่และพนักงานของคุรุสภา และของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน ทั้งนี้ ให้ดำรงตำแหน่งและได้รับเงินเดือนค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifหลักเกณฑ์และวิธีการโอนเจ้าหน้าที่ และพนักงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความเหมาะสมตามภารกิจของคุรุสภา และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 83 ให้โอนบรรดากิจการ เงิน ทรัพย์สิน หนี้ สิทธิต่างๆ ของคุรุสภาตาม พระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488 ดังนี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(1) องค์การค้าของคุรุสภา และส่วนการลงทุนหรือสวัสดิการไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการ และสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif(2) ส่วนที่นอกเหนือจาก (1) ไปเป็นของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ให้มีการปรับปรุงการบริหารจัดการขององค์การค้าคุรุสภาให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงและมีประสิทธิภาพสามารถแข่งขัน อย่างเสรีได้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 84 ผู้ใดเป็นครูซึ่งเป็นสมาชิกของคุรุสภาตาม พระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488 อยู่แล้วก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ หลักเกณฑ์และวิธีการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifบทบัญญัติ มาตรา 43 ยังมิให้นำมาใช้บังคับจนกว่าคุรุสภาจะออกข้อบังคับกำหนด หลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 85 ในวาระเริ่มแรก ให้คุรุสภาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ดำรงตำแหน่งครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น และภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้มีการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามข้อบังคับของคุรุสภา ทั้งนี้ ให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งดังกล่าวมีสิทธิได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 86 ในวาระเริ่มแรก มิให้นำความใน มาตรา 14 (1) มาใช้บังคับแก่กรรมการคุรุสภา และกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาจนกว่าคุรุสภาจะออกใบอนุญาต
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 87 ในวาระเริ่มแรกของการเลือกกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนจากผู้ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์ หรือการศึกษา ให้เลือกผู้แทนจำนวนสี่คนจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน จนกว่าจะมีสถาบันอุดมศึกษาเอกชนครบจำนวนสามแห่ง จึงจะเลือกผู้แทนตามบทบัญญัติ มาตรา 12 (4)
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 88 ให้วุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นที่ ก.ค. กำหนดให้เป็นคุณวุฒิที่ใช้ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นคุณวุฒิในการขอรับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ไม่เกินสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 89 ให้สมาชิกคุรุสภาตาม พระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488 ที่ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ อยู่ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คงมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการนั้นๆ ต่อไป
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifมาตรา 90 ในระหว่างที่ยังมิได้ออกคำสั่ง ประกาศ หรือระเบียบเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำคำสั่ง ประกาศ หรือระเบียบที่ออกตาม พระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488 ซึ่งไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gifหมายเหตุ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาของชาติ จะต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif1. พัฒนาวิชาชีพครูตาม มาตรา 81 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา ตาม มาตรา 9 (4) แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif2. เพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตาม พระราชบัญญัติ ครู พ.ศ. 2488 เป็นองค์กรวิชาชีพครูตาม มาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และให้เป็นไปตาม มาตรา 73 โดยกำหนดให้มี
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif2.1 สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกชื่อว่า "คุรุสภา" มีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการพัฒนาวิชาชีพ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif2.2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษามีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ ความมั่นคงของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
http://www.kodmhai.com/php/Img1/Spac1.gif3. เพื่อสืบทอดประวัติศาสตร์และ เจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป
แนวทางการพัฒนาวิชาชีพครู
          มีปัญหาหลายประการของการจัดการศึกษาของไทยที่เป็นสาเหตุทำให้ต้องมีการปฏิรูปการศึกษาอย่างขนาน ใหญ่ ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือ ปัญหาเกี่ยวกับครู  และบุคลากรทางการศึกษา  ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่การผลิต การใช้ การพัฒนา  และการรักษามาตรฐานของวิชาชีพครู รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 81 จึง กำหนดบทบัญญัติให้มีการ พัฒนาวิชาชีพครู ไว้ด้วย และในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542 มาตรา 9 (4) ก็ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐาน วิชาชีพครู คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา  และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  นับเป็นหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนวทาง พัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา
 การปฏิรูปวิชาชีพครู
          การปฏิรูปวิชาชีพครู ซึ่งรวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ได้กำหนดไว้ในหมวด 7 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยมีแนวทางกล่าวได้  คือ
          1. จัดให้มีระบบ และกระบวนการผลิต และพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ และมาตรฐาน เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง ปรับปรุงให้สถาบันที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์  รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา มีความพร้อมและความเข้มแข็ง ในการเตรียมบุคลากรใหม่ และการพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง และจัดตั้งกองทุนพัฒนา ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
          2.  จัดให้มีการควบคุม และรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพครู โดยจัดตั้งองค์กร วิชาชีพครูและสภาวิชาชีพครู ทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกำกับดูแล
และการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาวิชาชีพครู  ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา
          3. จัดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้ง ของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็นข้าราชการสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยยึดหลักการกระจายอำนาจ การบริหารงานของบุคคลสู่เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา
          4.  จัดให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น สำหรับข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีรายได้เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ
           5.  จัดให้มีกองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนงานริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานดีเด่น และเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
          6.  ให้หน่วยงานทางการศึกษา ระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชำนาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา
 มาตรฐานวิชาชีพครู
          แนวทางการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะ การควบคุม และรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เป็นเรื่องที่เพิ่มจะกำหนดให้มีการดำเนินงานครั้งแรกในวิชาชีพครู โดยกำหนดให้มีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ
          มาตรฐาน วิชาชีพครู  เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ.ร.บ. ครู พ.ศ. 2488 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ
          1.  มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
          2.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
          3.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน
          มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ ดังนี้
          1)   วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง หรือ
          2)   วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทาง    การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
          3)   ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด
          มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน  ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
          มาตรฐานที่ 1  ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
          มาตรฐานที่ 2  ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
          มาตรฐานที่ 3  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
          มาตรฐานที่ 4  พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
          มาตรฐานที่ 5  พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
          มาตรฐานที่ 6  จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
          มาตรฐานที่ 7  รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
          มาตรฐานที่ 8  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
          มาตรฐานที่ 9    ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
          มาตรฐานที่ 10  ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
          มาตรฐานที่ 11  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
          มาตรฐานที่ 12  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์
          มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน  ได้แก่ตามจรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
          1)  ครูต้องรักและเมตตาศิษย์  โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
          2)  ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
          3)  ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
          4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
          5)  ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
          6)  ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ  เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
          7)  ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
          8)  ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
          9)  ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์  และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
          มาตรฐานวิชาชีพครู  จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ   ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู ดังกล่าวข้างต้น
 บทบาทของครูตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
           ในการประกอบวิชาชีพครู นอกจากจะมีมาตรฐานวิชาชีพครู  เป็นแนวทางการดำเนินงานแล้ว พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดแนวทางจัดการศึกษา เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของผู้มีหน้าที่จัดกระบวนการเรียนรู้ไว้ด้วย  ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติ เช่นเดียวกัน ซึ่งมีดังนี้
           1.  จัดการเรียนการสอน  โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด รวมถึงจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักภาพ (ม.22)
          2.   จัดสาระการเรียนรู้  โดยเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา กล่าวคือ (ม.23)
                   1)  ความรู้เกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ สังคมโลก รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของสังคมไทย และระบบการเมือง การปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                    2)  ความรู้และทักษะ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ          สิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
                   3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา  ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
                   4)  ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
                   5)  ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
          3. จัดเนื้อหาสาระ  และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (ม.24 (1) )
          4.  ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้  มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา (ม.24 (2) )
          5.  จัดกิจกรรม  ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น  ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (ม.24 (3) )
          6.  จัดการเรียนการสอน  โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา (ม. 24(4) )
          7.  จัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งนี้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอน และวิทยากรประเภทต่าง ๆ (ม. 24(5) )
          8. จัดการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา  ผู้ปกครอง  และบุคลากรในชุมชน ทุกฝ่าย  เพื่อร่วมกันพัฒนาการเรียน  ตามศักยภาพ (ม. 24(6) )
          9.  จัดการประเมินผู้เรียน  โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ สังเกตพฤติกรรมการเรียน  การร่วมกิจกรรม  และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน ตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา (ม.26)
          10.  จัดทำสาระ ของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชน และสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่นรวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยสาระของหลักสูตร ทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ ต้องมุ่งพัฒนาคน ให้มีความสมดุล  ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม (ม.27,28)
          11.  ร่วมกับบุคคล  ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรชุมชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน โดยจัดกระบวนการเรียนรู้ ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษา  อบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยากรต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การพัฒนา ระหว่างชุมชน (ม.29)
          12.  พัฒนากระบวนการเรียนการสอน ที่มีประสิทธิภาพ และดำเนินการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แต่ละระดับการศึกษา (ม.30)
          13.  พัฒนาขีดความสามารถ  ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อกาศึกษาของผู้เรียน เพื่อให้มีความรู้ และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (ม.66)
          14. ปฏิบัติงาน และประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ครู (ม.53)
          การดำเนินงานจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ขึ้นกับผู้เรียนและชุมชนตามแนวทางที่กล่าวมาแล้วเป็นบทบาทของครู ซึ่งถือว่าเป็นบุคลากรหลักในการปฏิรูปการศึกษา สามารถจะดำเนินได้เลยตลอดเวลา  โดยไม่ต้องรอคำสั่งหรือทิศทางจากกระทรวง หรือ หน่วยงานต้นสังกัดแต่อย่างใด เนื่องจากสิ่งที่ปรากฎเป็นแนวทางจัดการศึกษาอยู่ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  ล้วนเป็นหลักวิชาครู ผู้ประกอบวิชาชีพครู  หรือ ครูมืออาชีพ ได้ศึกษาเล่าเรียน และฝึกอบรมแล้วทั้งสิ้น ถ้าครูได้เริ่มต้นเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูป การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเสียแต่บัดนี้ก็จะเป็นการเรียก  ความเป็นมืออาชีพ  ของครูกลับคืนมาคุณภาพและมาตรฐานการประกอบอาชีพของครูก็จะสูงขึ้น ทำให้ครูมีศักดิ์ศรี เป็นที่ยอมรับนับถือและไว้ วางใจจากสาธารณชนโดยทั่วกัน
การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู                                                                                                               
          โดยที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นหลักฐานแสดงคุณสมบัติความรู้ ความสามารถการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนของผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพครู  จึงกำหนดให้ออกใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพแก่ ผู้มีคุณสมบัติความรู้ ความสามารถการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ และการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณครู โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
          1.  เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง สร้างความเชื่อถือศรัทธา และจูงใจ คนดี คนเก่ง เข้าสู่วิชาชีพครูให้มากขึ้น
          2.   เพื่อเป็นการประกันคุณภาพการจัดการศึกษา และคุ้มครอง ผู้บริโภค ผู้รับบริการ  ทางการศึกษาให้ได้รับอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน
          3.  เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา  และพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
 ผู้ต้องมีใบอนุญาติประกอบวิชาชีพครู
          ผู้ประกอบวิชาชีพที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
          1.  ผู้ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา  ที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรูปแบบ การศึกษาในระบบการศึกษาและนอกระบบ โดยจัดการศึกษาในลักษณะสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และโรงเรียนทั้งนี้ยกเว้นศูนย์   การเรียน ผู้ทำหน้าที่วิทยากรพิเศษทางการศึกษา และคณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา
          2.  ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้แก่
                   1)      ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นครั้งคราว
                   2)      ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการสอน แต่บางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
                   3)      นักเรียน นักศึกษา หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งทำการฝึกหัด หรืออบรมในความ    ควบคุม ของผู้ประกอบวิชาชีพ
                   4)      ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
                   5)      ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียน หรือสถานที่เรียนที่หน่วยการจัดการศึกษานอก   โรงเรียนบุคคลครอบครัว ชุมชน หรือสถาบันทางสังคมอื่นเป็นผู้จัด
                   6)      คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาอุดมศึกษา ระดับปริญญา
                   7)      ผู้บริหารการศึกษา ระดับ หรือเขตพื้นที่การศึกษา
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
          1.  คุณสมบัติทั่วไป
               1)     อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
               2)      ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
               3)      ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
               4)       ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่สภาวิชาชีพครูเห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
          2.  คุณสมบัติด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  เป็นผู้มีประสบการณ์และปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
          3. คุณสมบัติด้านมาตรฐานการปฏิบัติตน  เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
          4. คุณสมบัติด้านมาตรฐานการปฏิบัติตน  เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณครูอย่างสม่ำเสมอ ไม่ประพฤติผิดจรรยาบรรณครู
แนวทางการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีดังนี้
          1. ครูก่อนประจำการ
                    1) ผู้สำเร็จปริญญาตรีทางการศึกษาจากสถาบันที่องค์กรวิชาชีพครูรับรอง หรือปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต จะได้รับ ใบอนุญาตปฏิบัติการสอนและได้ทดลองปฏิบัติการสอนเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่องค์กรวิชาชีพครูกำหนด จะได้รับ  ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  
                    2)  ผู้สำเร็จปริญญาตรีทางการศึกษาจากสถาบันในประเทศอยู่ก่อนกฎหมายนี้ใช้บังคับ หรือ
ต่างประเทศที่ไม่ได้รับการรับรองจากองค์กรวิชาชีพครู  เมื่อได้รับการประเมินความรู้และสมรรถภาพทางวิชาชีพ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่องค์กรวิชาชีพกำหนด จะได้รับ  ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน
          2.  ครูประจำการ
           ได้แก่ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนอยู่ในปัจจุบัน ก่อนกฎหมายเกี่ยวกับการออกใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครูบังคับ
                    1)  ผู้สำเร็จปริญญาตรีทางการศึกษา หรือปริญญาตรีทางวิชาการ หรือ วิชาชีพอื่นที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง หรือว่าจ้างให้เป็นครู และมีประสบการณ์ปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ให้ได้รับ    ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยไม่ต้องประเมิน
                   2)  ผู้สำเร็จปริญญาตรีทางการศึกษา หรือปริญญาตรีทางวิชาการ หรือวิชาชีพอื่นที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง หรือว่าจ้างให้เป็นครู แต่มีประสบการณ์ปฏิบัติการสอนมายังไม่ถึง 2 ปี ให้ได้รับ ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ไปก่อนเมื่อได้ปฏิบัติการสอน ครบ 2 ปี ก็ให้ได้รับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  โดยไม่ต้องประเมิน
                    3)  ผู้ที่มีคุณวุฒิต่ำหว่าปริญญาตรี ให้ได้รับ  ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ไปก่อน และเมื่อได้ศึกษาอบรมได้รับปริญญาตรีทางการศึกษา ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับหรือ ผ่านการประเมินประสบการณ์และผลงานที่มีคุณค่าเทียบเคียงได้กับคุณวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่องค์กรวิชาชีพครูกำหนด
 การกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
          การกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพครู เป็นการรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ให้เป็นไปตามมาตรฐานอยู่เสมอ และยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้นเหมาะสมอยู่เสมอ โดยมีมาตรการสำคัญ กล่าวคือ
          1.  การพัฒนาครู  โดยกำหนดแนวทาง ดังนี้
                    1)  ให้มีระบบพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพระหว่างประจำกาเพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะและความชำนาญการต่อเนื่อง
                    2) ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเข้ารับการพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
                    3) หากผู้ใดรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไม่เข้ารับการพัฒนา ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนด หรือผลพัฒนาไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพให้องค์กรวิชาชีพครูพิจารณาพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
          2.  การพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู  โดยมีแนวทาง ดังนี้
                    2.1 การพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
                   1)      เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ กรณีไม่ร้ายแรง
                   2)      เป็นผู้ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพที่องค์กรวิชาชีพกำหนด
                   3)      เป็นผู้ไม่เข้ารับการพัฒนา หรือผลการพัฒนาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
   ที่องค์กรวิชาชีพกำหนด
                   2.2 การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
                   1)      ผู้ขาดคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
                   2)      เป็นผู้ประพฤติตนผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพอย่างร้ายแรงจนมิอาจให้ปฏิบัติวิชาชีพได้อีกต่อไป
                    3)  เป็นผู้ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพที่องค์กรวิชาชีพครูได้กำหนดอย่างต่อเนื่อง
                    4)  เป็นผู้ไม่เข้ารับการพัฒนา หรือผลการพัฒนาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่องค์กรวิชาชีพครูกำหนด ซึ่งส่งผลเสียหายต่อการประกอบวิชาชีพครูอย่างร้ายแรง






1 ความคิดเห็น: